เมนู

อรรถกถาปฐวีกัมมวิปาโกติกถา



ว่าด้วย แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องแผ่นดินเป็นกรรมวิบาก คือเป็นผลของกรรม.
ในเรื่องนั้น คำว่า ความเป็นแห่งชนทั้งหลายผู้เป็นใหญ่ ชื่อว่า อิสสริยะ.
คือความเป็นใหญ่ ความเป็นแห่งอธิปติชนทั้งหลายชื่อว่า อาธิปัจจะ คือ
ความเป็นอธิบดี หรือความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ และกรรมมีความเกี่ยวข้อง
ด้วยความเป็นอิสระและความเป็นอธิบดีในแผ่นดินมีอยู่ ดังนี้ ท่านกล่าวไว้
ในคำว่า กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นใหญ่ กรรมที่ยัง
สัตว์ให้เป็นไปพร้อม เพื่อความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ มีอยู่
ดังนี้ เหตุใด เพราะ
เหตุนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า
แผ่นดินเป็นกรรมวิบาก ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า แผ่นดิน เป็นต้น
โดยหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า แผ่นดิน
มีสุขเวทนา
เป็นต้น สกวาทีกล่าวด้วยความสามารถการแสดงสภาพ
แห่งกรรมวิบาก. ผัสสะอันต่างด้วยสุขเวทนาเป็นต้นมีอยู่ในวิบากทั้งหลาย
ที่ท่านแสดงไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า ผัสสะ เป็นกรรมวิบาก ก็ผัสสะนั้นด้วย
ธรรมทั้งหลายมีสัญญาเป็นต้นด้วย สัมปยุตกันกับธรรมทั้งหลายมีสุขเวทนา
เป็นต้น ธรรมทั้งหลายมีสุขเวทนาเป็นต้น ก็สัมปยุตกับธรรมทั้งหลาย
มีสัญญาเป็นต้น ธรรมเหล่านี้แม้ทั้งหมดเป็นไปกับด้วยอารมณ์ คือรับ
อารมณ์ได้ ก็อาวัชชนจิต กล่าวคือ การรับอารมณ์อันเป็นปุเรจาริก
เป็นต้นแห่งธรรมเหล่านั้น และเจตนา อันเป็นกัมมปัจจัยแห่งธรรมเหล่านั้น
ก็มีอยู่ในธรรมเหล่านั้น ธรรมใดมีวิบากที่น่าปรารถนา การปรารถนา

ธรรมนั้นมีตัณหาเป็นมูลเป็นไปทั่วแล้วด้วยสามารถแห่งความตั้งใจมีอยู่
ดังนั้นสกวาทีจึงถามว่า ตามลัทธิของท่านแผ่นดินเป็นอย่างนี้ ๆ หรือ
ปรวาทีตอบปฏิเสธ. ปฏิโลมปุจฉาเป็นต้น มีอรรถง่ายทั้งนั้น.
ในปัญหาว่า กรรมวิบากทั่วไปแก่ชนอื่น ๆ หรือ เป็นต้น ปรวาที
ตอบปฏิเสธ หมายเอาธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้น ย่อมตอบรับรอง
หมายเอารูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน และหมายเอาความที่แผ่นดินเป็นต้น
เป็นของทั่วไป. พระสูตรว่า นิธิคือบุญ ไม่ทั่วไปแก่ชนอื่น ๆ เป็นคำที่
สกวาทีนำพระสูตรจากลัทธิของปรวาทีมาแสดง.
ในปัญหาว่า สัตว์ทั้งปวงบริโภคแผ่นดินหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ
หมายเอาสัตว์ผู้ไม่อาศัยแผ่นดิน แต่ตอบรับรองหมายเอาสัตว์ผู้อาศัย
แผ่นดิน. ในปัญหาว่า สัตว์ทั้งปวงไม่บริโภคแผ่นดินย่อมปรินิพพาน
หรือ
ปรวาทีตอบรับรอง หมายเอาสัตว์ทั้งหลายผู้ปรินิพพานในอรูปภพ.
คำว่า ไม่ยังกรรมวิบากให้สิ้นไป นี้ สกวาทีกล่าวด้วยสามารถแห่ง
ลัทธิของปรวาที เพราะลัทธิของปรวาทีนั้นว่า สัตว์ทั้งหลายยังกรรม
วิบากให้สิ้นไปแล้วจึงจะปรินิพพานได้ แต่ในลัทธิของสกวาที การไม่ยัง
วิบากที่เกิดขึ้นจากกรรมที่ทำแล้วให้ปราศจากไปให้สิ้นไปแล้วนิพพาน
ไม่มี. อนึ่ง ว่าโดยลัทธิแห่งท่านเหล่านั้น ปฐวีธาตุ ชื่อว่าเป็นวิบากที่เกิด
ขึ้นแล้ว เพราะเป็นสาธารณวิบาก ก็การท้วงว่า การไม่ให้ปฐวีธาตุ
ซึ่งตั้งอยู่โดยความเป็นวิบากนั้นให้สิ้นไปแล้วปรินิพพานนั้น ย่อมไม่ถูก
ดังนี้ ย่อมควร. ปรวาทีตอบปฏิเสธด้วยสามารถแห่งลัทธิ. ในปัญหาว่า
บริโภควิบากแห่งกรรมของพระเจ้าจักรพรรดิหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ
หมายเอาธรรมที่มีผัสสะเป็นต้นที่ไม่ทั่วไป ย่อมตอบรับรอง หมายเอา

ธรรมที่เป็นสาธารณะ. ลัทธิแห่งท่านเหล่านั้นว่า แผ่นดิน สมุทร พระจันทร์
และพระอาทิตย์ เป็นต้น เป็นกรรมวิบากทั่วไปแก่สิ่งทั้งปวง. ในคำว่า
กรรมที่ยังสัตว์ให้เป็นพร้อมเพื่อความเป็นใหญ่ นี้ ความว่า ชื่อว่า
ความเป็นอิสระ เพราะความเป็นผู้มีทรัพย์มาก ชื่อว่า อธิปไตย คือ ความ
เป็นใหญ่ยิ่ง ความเป็นอธิบดี เพราะยังชนทั้งหมดให้เป็นไปในอำนาจ
ของตน อธิบายว่า ชื่อว่า ความเป็นอธิบดีเพราะอรรถว่าควรแก่การ
ยกย่องจากชนเหล่านั้น. ในปัญหานั้น กรรมชื่อว่ายังสัตว์ให้เป็นไปพร้อม
เพื่อความเป็นอิสสริยะและความเป็นอธิบดีด้วยสามารถแห่งการได้เฉพาะ
ซึ่งแผ่นดิน ไม่ใช่ด้วยสามารถแห่งการให้เกิดแผ่นดิน เพราะฉะนั้น คำว่า
ปฐวี คือแผ่นดินนั้น จึงไม่สำเร็จในความเป็นกรรมวิบาก ด้วยประการ
ฉะนี้.
อรรถกถาปฐวีกัมมวิปาโกติกา จบ

ชรามรณวิปาโกติกถา



[1169] สกวาที ชรามรณะ เป็นวิบาก หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ชรามรณะ มีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา มีอทุกขมสุข
เวทนา ประกอบด้วยสุขเวทนา ประกอบด้วยทุกขเวทนา ประกอบด้วย
อทุกขมสุขเวทนา ประกอบด้วยผัสสะ ประกอบด้วยเวทนา ประกอบด้วย
สัญญา ประกอบด้วยเจตนา ประกอบด้วยจิต มีอารมณ์ ความนึก ความ
ผูกใจ ความสนใจ ความทำไว้ในใจ ความจงใจ ความปรารถนา ความ
ตั้งใจ ของชรามรณะนั้น มีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ฯลฯ ไม่มี
อารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของชรามรณะนั้น ไม่มี มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ชรามรณะไม่มีสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา
ฯลฯ ไม่มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจ ของชรามรณะนั้นไม่มี ก็
ต้องไม่กล่าวว่า ชรามรณะ เป็นวิบาก.
[1170] ส. ผัสสะ เป็นวิบาก และผัสสะมีสุขเวทนา มีทุกขเวทนา
ฯลฯ มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของผัสสะนั้นมีอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชรามรณะ เป็นวิบาก และชรามรณะมีสุขเวทนา มี
ทุกขเวทนา ฯลฯ มีอารมณ์ ความนึก ฯลฯ ความตั้งใจของชรามรณะนั้น